Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ manga

Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ

Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ มังงะ

Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ เป็นมังงะชุดสัญชาติญี่ปุ่นเกี่ยวกับการเล่นเกมที่แต่งเรื่องและวาดภาพประกอบโดยคาซูกิ ทากาฮาชิ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอชะ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2539 ถึงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547 ส่วนในประเทศไทยตีพิมพ์ลงใน นิตยสารซีคิดส์ ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ เนื้อเรื่องจะติดตามเรื่องราวของเด็กหนุ่มมัธปลายที่ชื่อมุโต้ ยูกิ วันหนึ่งเขาได้ไขปริศนา อียิปต์โบราณ ที่รู้จักกันในชื่อ ตัวต่อพันปี ได้สำเร็จ ทำให้ร่างกายถูกสิงร่างโดย วิญญาณฟาโรห์ ไร้นาม

มังงะ ต้นฉบับของเกมกลคนอัจฉริยะนั้นได้มีการดัดแปลงเป็นอนิเมะถึงสองครั้งซึ่งครั้งที่หนึ่งโดยโทเอแอนิเมชัน ที่มีชื่อว่า เกมกลคนอัจฉริยะ ได้ออกอากาศทางโทรทัศน์ของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2541 ถึงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และครั้งที่สองที่ผลิตโดยนิฮงเอดีซิสเตมส์ และแอนิเมชันโดยแกลลอป ที่มีชื่อว่า ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ ได้ออกอากาศทางโทรทัศน์ของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2543 ถึงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547

หลังจากที่มังงะและอนิเมะต้นฉบับของเกมกลคนอัจฉริยะประสบความสำเร็จก็ได้ให้กำเนิดแฟรนไชส์สื่อมากมายเช่น ภาคแยกของอนิเมะและมังงะ , เทรดดิงการ์ดเกม , และวิดีโอเกมจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ของแฟรนไชส์จะเกี่ยวโยงกับเกมสะสมการ์ดที่รู้จักกันในชื่อ ดูเอลมอนสเตอร์ ที่ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องใช้ การ์ดมอนสเตอร์ , เวทมนตร์ , หรือกับดัก ในการ ดูเอล ซึ่งในระบบการแพ้ชนะนั้นถ้าทำให้ผู้เล่นอีกฝ่ายไลฟ์พอยท์เป็นศูนย์หรือการ์ดในเด็คอีกฝ่ายหมดก็เป็นฝ่ายชนะ และในปี พ.ศ. 2561 เกมกลคนอัจฉริยะ ได้เป็นหนึ่งในแฟรนไชส์สื่อที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาล

ในภาษาญี่ปุ่นคำว่า ยูกิโอ 遊戯王 (yugiō) ซึ่งมีลักษณะเป็น 遊☆戯☆王 หมายถึง ” ราชาแห่งเกม ” เป็นการเล่นคำของตัวเอก ยูกิ ซึ่งหมายถึง “เกม” (遊戯) ในชื่อภาษาอังกฤษใช้ “Oh!” แทนที่จะเป็น “ō” เพื่อสะท้อนถึงเสียงที่ยูกิเปล่งเสียงออกมาเมื่อเปลี่ยนเป็น ยูกิอีกคน (ยูกิด้านมืด) คาซูกิ ทากาฮาชิ ได้ระบุไว้ว่าชื่อตัวละครของ “ยูกิ” และ “โจวโนะอุจิ” ทั้งสองนั้นมีพื้นฐานมาจากคำว่ายูโจว yūjō (友情) ซึ่งหมายถึง “มิตรภาพ”

โครงเรื่อง

มุโต้ ยูกิ เด็กหนุ่มมัธยมปลายที่ชอบเล่นเกมทุกชนิด และมีนิสัยที่ขี้อายจึงมักจะถูกแกล้งอยู่เป็นประจำ วันหนึ่งยูกิได้ไขปริศนาอียิปต์โบราณที่รู้จักกันในชื่อ ตัวต่อพันปี ได้สำเร็จทำให้ร่างกายถูกสิงโดนวิญญาณลึกลับที่มีนิสัยชอบเผชิญหน้ากับความท้าทายและการพนันไม่ว่าจะเป็น การ์ด, ลูกเต๋า, หรือเกมกระดานสวมบทบาท นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมือใดที่ยูกิหรือเพื่อนพ้องถูกคุกคามโดยผู้ที่มีความมืดอยู่ในจิตใจยูกิอีกคน (ยูกิด้านมืด) จะปรากฏตัวออกมาและจะท้าดวลด้วยเกมแห่งความมืด ผู้ที่แพ้การดวลจะถูกลงโทษอย่างแรงที่สุดด้วยเกมลงทัณฑ์

ซึ่งจะเปิดเผยแก่นแท้ในจิตใจของผู้คน ในเวลาผ่านไปในเรื่องยูกิและเพื่อนพ้องได้รู้ว่าวิญญาณที่สิงในตัวต่อพันปีคือวิญญาณฟาโรห์ไร้นามจากยุคอียิปต์โบราณที่สูญเสียความทรงจำ ในขณะที่ยูกิและเพื่อนพ้องได้พยายามช่วยฟาโรห์นำความทรงจำที่หายไปกลับคืนมา ได้รู้ว่าจะต้องผ่านบททดสอบที่ต้องเดิมพันด้วยชีวิต พวกเขาจะต้องเผชิญหน้ากับผู้ที่มีไอเทมพันปี และพลังของเกมแห่งความมืด

ความสำคัญของดูเอลมอนสเตอร์

บทแรก ๆ ของ เกมกลคนอัจฉริยะ จะได้เห็นเกมในรูปแบบต่าง ๆ โดยตั้งแต่บทที่ 60 (เล่มที่ 7) เป็นต้นไปเกมที่พบบ่อยที่สุดคือเกมการ์ดที่มีชื่อว่า ดูเอลมอนสเตอร์ (เคยมีชื่อว่า เมจิกแอนด์วิซาร์ด) ที่จะโผล่มาให้เห็นผ่านบทเรื่องราวดูเอลลิสคิงดอมและแบตเทิลซิตี ซึ่งต่อมาจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงเรื่องเพิ่มขึ้นผ่านบทเรื่องราวในภายหลัง เกมอื่น ๆ ยังคงปรากฏให้เห็นในช่วงดราก้อน ไดซ์ แอนด์ ดันเจียนส์และบางส่วนในศึกดูเอลท้าฟาโรห์

นิฮงเอดีซิสเตมส์และแกลลอปของอนิเมะ ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ ได้ส่งเสริมให้เกม ดูเอลมอนสเตอร์ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับในเนื้อเรื่องหลักและตอนเสริมมากขึ้น ทำให้จักรวาลเกมกลคนอัจฉริยะเปลี่ยนไปสู่จักรวาลที่มีดูเอลมอนสเตอร์เป็นศูนย์กลาง ดูเอลมอนสเตอร์เป็นเกมที่เล่นด้วยระบบภาพฮอโลกราฟีที่สร้างขึ้นโดยไคบะ เซโตะ (ตามครั้งแรกที่ไคบะดวลกับยูกิในเกมแห่งความมืด) ซึ่งจะสามารถฉายภาพมอนสเตอร์ลงไปในฟีลด์ ในมังงะและอนิเมะของโทเอแอนิเมชัน

เกมกลคนอัจฉริยะ จะใช้โต๊ะแสดงภาพฮอโลกราฟีทีเรียกว่าแบตเทิลบ็อกซ์ และในขณะที่ ยูกิโอ ดูเอลมอนสเตอร์ ใช้สนามฮอโลกราฟีขนาดใหญ่ที่เรียกว่าดูเอลริง หลังจากนั้นเริ่มตั้งแต่บทเรื่องราวแบตเทิลซิตีเป็นต้นไป การดวลจะเปลี่ยนไปเป็นแบบพกพาที่เรียกว่าดูเอลดิสก์ ที่คิดค้นโดยไคบะ เซโตะประธานไคบะคอร์ปอเรชันโดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่าโซลิดวิชันซึ่งทำให้สามารถดูเอลมอนสเตอร์เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา

 

Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ pdf

การพัฒนา

คาซูกิ ทากาฮาชิ เคยทำงานอยู่บริษัทสร้างเกมแต่เพราะอยากเขียนการ์ตูนก็เลยวาดต้นฉบับเอาไว้ 100 หน้าแล้วเอาไปส่งที่สำนักพิมพ์ พอบรรณาธิการของสำนักพิมพ์เห็นจำนวนหน้าก็ตกใจแต่พอได้อ่านทั้งหมดก็เข้าก็เข้าใจว่าอยากจะเขียนเรื่องราวการต่อสู้แต่ในท้ายที่สุดก็ได้ถูกปฏิเสธ ก่อนที่จะเขียนเรื่อง เกมกลคนอัจฉริยะ ทากาฮาชิเคยเดินทางไปเก็บข้อมูลที่อียิปต์

ในช่วงการออกแบบของมังงะทากาฮาชิอยากจะวาดมังงะแนวสยองขวัญ ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นมังงะเกี่ยวกับเกม แต่ก็ยังมีองค์ประกอบของสยองขวัญที่มีอิทธิผลต่อบางแง่มุมของเนื้อเรื่อง ทากาฮาชิตัดสินใจที่จะใช้ “การดวล” เป็นแก่นเรื่องหลักสำคัญ เนื่องจากมีมังงะเกี่ยวกับ “การต่อสู้” เยอะมากจึงทำให้ยากที่จะคิดค้นสิ่งที่ไม่เหมือนใคร สุดท้ายก็กำหนดลงไปว่า “การต่อสู้ที่ตัวละครหลักจะไม่โจมตีใคร” แต่ก็ต้องดิ้นรนกับข้อจำกัดดังกล่าว เมื่อคำว่า เกม เข้าไปในความคิดของทากาฮาชิและพบว่าหนทางข้างหน้าเปิดขว้างขึ้นทันที และนี้คือเหตุผลที่เขียน เกมกลคนอัจฉริยะ

เมื่อผู้สัมภาษณ์ถามทากาฮาชิว่าเขาพยายามแนะนำผู้อ่านที่อายุน้อยกว่าให้กับเกมการเล่นที่อ้างอิงอยู่ในมังงะ ทากาฮาชิตอบว่าเขาเพียงรวบรวมเกมที่ “เคยเล่นและสนุก” และอาจจะทำให้ผู้อ่านรู้จักกับเกมสวมบทบาทและเกมอื่น ๆ ทากาฮาชิเสริมว่าเขาสร้างบางเกมที่เห็นอยู่ในมังงะ

ทากาฮาชิได้ให้ความสนใจในเกมมาโดยตลอด โดยอ้างว่าเป็นเด็กที่ติดเกมและยังคงสนใจเกมในขณะที่ผู้ใหญ่ เขาชอบเล่นเกมที่มีผู้เล่นกลายเป็นฮีโร่ โดยตัดสินใจให้ เกมกลคนอัจฉริยะ เป็นเหมือนเกมดังกล่าวที่มี ยูกิเป็นเด็กที่อ่อนแอเมื่อเล่นเกมจะกลายเป็นฮีโร่ ทากาฮาชิคิดว่าเด็กทุกคนใฝ่ฝันที่จะอยากแปลงร่างได้ ซึ่งทำให้ยูกิแปลงร่างเป็นยูกิอีกคน ทำให้นิสัยเปลี่ยนไปเป็นผู้เล่นเกมที่ฉลาดและไร้เทียมทาน เพื่อเป็นสิ่งดึงดูดสำหรับเด็ก ตัวละครของไคบะ เซโตะนั้นอิงมาจากผู้เล่นสะสมการ์ดในชีวิตจริงที่มีนิสัยหยิ่งผยองซึ่งเอามาจากบุคคลที่อยู่ในเรื่องราวที่เพื่อนของทากาฮาชิเคยเล่าให้ฟัง

 

Yu-Gi-Oh! เกมกลคนอัจฉริยะ มังงะ pdf

อ่าน เกมกลคนอัจฉริยะ

YU-GI-OH เกมกลคนอัจฉริยะ 01

YU-GI-OH เกมกลคนอัจฉริยะ 02_End

 

ขอขอบคุณที่อ่านกันจนจบ หวังว่าการ์ตูนเรื่องนี้จะสร้างความเพลิดเพลินบันเทิงใจให้กับท่านผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อยนะครับ ขอบคุณครับ

 

Mangaมังงะอ่านการ์ตูน , cartoon , cartoonbook , mangatoonbook , หนังสือการ์ตูน , อ่านการ์ตูนฟรี , มังงะฟรี , อ่านการ์ตูน pdf