Yokoyama Mitsuteru Sangokushi สามก๊ก อ่าน

Yokoyama Mitsuteru Sangokushi สามก๊ก

Yokoyama Mitsuteru Sangokushi สามก๊ก มังงะ

Yokoyama Mitsuteru Sangokushi สามก๊ก เป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเรื่องหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น วาดภาพโดย มิตสึเทรุ โยโกยามะ และถูกนำมาสร้างเป็นการ์ตูนอนิเมชั่นอีกด้วย ส่วนเนื้อเรื่องในการ์ตูนนั้น นำมามาจาก หนังสือสามก๊กฉบับภาษาญี่ปุ่น ของ เออิจิ โยชิคาวะ ซึ่งเนื้อเรื่องจะต่างจาก สามก๊กต้นฉบับของจีนเล็กน้อย และแม้ว่าเออิจิ โยชิคาวะ จะเขียนเนื้อเรื่องถึงแค่ตอนที่ ขงเบ้ง เสียชีวิตแต่ มิตสึเทรุ โยโกยามะ ก็ได้สร้างสรรค์ให้หนังสือการ์ตูนเขียนมาจนถึง จกก๊กล่มสลาย และทำให้เขาได้รับรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยมจากสมาคมนักการ์ตูนญี่ปุ่น ในปี 2534

คนญี่ปุ่นชอบอ่านเรื่องสามก๊กกันมากพอสมควร จนทำให้การ์ตูนเรื่องนี้ถูกนำมาดัดแปลงต้นฉบับในรูปแบบอื่นอีกมากมาย เช่น การ์ตูน เกม ละครหุ่นกระบอก ทั้งแบบการดำเนินเรื่องที่เหมือนกับต้นฉบับ และหลุดเนื้อเรื่องไปเลยอย่าง สามก๊กโนตมอิคคิโตเซ็น หรือ สามก๊กฉบับกันดั้ม ซึ่งตอนนี้ก็ยังมีตอนใหม่ออกมาให้ติดตามกัยอยู่เรื่อย ๆ แต่ถ้าจะให้พูดถึงการ์ตูนเรื่องนี้ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการ์ตูนสามก๊กในหมู่แฟนคลับชาวญี่ปุ่นแล้ว คงต้องนึกถึง สามก๊ก ฉบับของอาจารย์ โยโกยามะ มิตสึเทรุ เป็นเรื่องแรกๆ เลย

เนื้อเรื่องของสามก๊กนั้นจะเป็นเรื่องราวที่อิงตามประวัติศาสตร์ แต่ที่เราได้อ่านกันนั้นเป็นนิยายที่อิงประวัติศาสตร์ที่ ล่อกวนตง เขียนขึ้น ซึ่งก็มีทั้งส่วนที่อิงตามประวัติศาสตร์จริงๆรวมอยู่ด้วย และส่วนที่แทรกเนื้อหาเข้าไปเพิ่มเพื่อความสนุกสนาน โดยสามก๊กของไทยเราจะเป็นสำนวนการแปลของ เจ้าพระยาพระคลัง(หน)ที่แพร่หลายอยู่มากที่สุด ส่วนฉบับของญี่ปุ่นจะเป็นฉบับแปลของ อาจารย์ โยชิคาวะ เออิจิ ที่ถูกนำมาเป็นต้นฉบับให้กับหนังสือการ์ตูนอีกทีหนึ่ง โดยฉบับภาษาไทยและญี่ปุ่นนั้นมีเนื้อหาแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ก็เป็นเพียงจุดเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีเวอร์ชั่นลิขสิทธิ์ของ หนังสือพิมพ์มังงะบุ๊คที่ทำออกมาในรูปแบบเล่มให้สะสมออกมา คือพิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์อย่างดีแต่ว่าขายในราคา 60 บาท สมันนั้นนังสือหาร์ตูนจะอยู่ที่เล่มละ 25 บาท ซึ่งฉบับแปลไทยนั้นก็ทำออกมาได้ดีมาก คือมีการอธิบายจุดที่แตกต่างกันระหว่างฉบับไทยกับญี่ปุ่น ให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย

ส่วนฉบับอนิเมะนั้นเนื้อเรื่องจะไปสิ้นสุดลงที่ ศึกผาแดง “เซ็กเพ็ก” เท่านั้น ซึ่งก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมไม่ทำต่อเพราะดูเหมือนว่าตัวอนิเมะเองก็ประสบความสำเร็จและมีกระแสตอบรับดีไม่น้อยทีเดียว โดยมีการนำเนื้อหาของการ์ตูนไปต่อยอดในรูปแบบอื่นมากมาย อาทิเช่น VDO Game เป็นต้น หรือเมื่อสี่ห้าปีก่อนตอนที่ Line เริ่มฮิตใหม่ๆ ก็มีการทำสติกเกอร์ไลน์ของการ์ตูนเรื่องนี้ออกมาขายอีกด้วย ส่วนในบ้านเราเหมือนจะไม่เคยถูกซื้อลิขสิทธิ์มาฉาย ส่วนเคเบิ้ลทีวีนั้นไม่มั่นใจว่ามีการนำมาฉายหรือไม่ แต่ที่เคยดูคือในรูปแบบวิดีโอในสมัยที่ร้านเช่าวิดีโอยังครองเมือง ก็ยอมรับว่าเนื้อเรื่องสนุกดี แต่ด้านภาพในอนิเมะนั้นอาจจะไม่สวยเหมือนการ์ตูนในสมัยนี้ ดังนั้นแฟนๆ การ์ตูนในบ้านเราก็เหมือนจะคุ้นเคยกับสามก๊กจากการอ่านในหนังสือการ์ตูนมากกว่า เพราะมีวางขายอยู่นานหลายปีทีเดียว ขนาดว่าหนังสือพิมพ์ มังงะบุ๊ค ปิดกิจการไปแล้ว ก็ยังมีการเอามาขายแบรีเซลล์กันอยู่หลายรอบ

ถ้าหากว่าคนที่อยากอ่านการ์ตูนเรื่องสามก๊กแต่ว่าไม่เคยอ่านสามก๊กในรูปแบบวรรณกรรมมาก่อน ก็ต้องยกให้ฉบับของ อาจารย์โยโกยามะนี่แหละครับ ที่อ่านง่ายและเข้าใจง่ายที่สุดแล้ว ส่วนเวอร์ชั่นอนิเมะ ถ้าใครสามารถหามาชมได้ ก็อยากให้ลองหามาดูกันครับ แม้ลายเส้นจะดูเชยไม่คอยทันสมัยสักเท่าไหร่ ก็สามารถดูได้ง่ายและลื่นไหลดี นอกจากนี้การดีไซน์ตัวะครของสามก๊กในฉบับ อ.โยโกยามะ นี่แหละครับที่กลายเป็นต้นแบบให้สามก๊กในยุคหลัง เพราะหากจะพูดว่าคนญี่ปุ่นรู้จักสามก๊กเวอร์ชั่นนี้กันมากที่สุด ก็คงจะไม่ใช่เรื่องเกินเลยที่จะกล่าวถึงกันสักเท่าไหร่นัก

คำคม ที่ปรากฎอยู่ในเรื่องสามก๊ก

  1. อันธรรมดาว่าสงคราม จะหมายเอาชนะฝ่ายเดียวไม่ได้ ย่อมแพ้บ้างชนะบ้าง – โจโฉ ได้กล่าวเอาไว้แก่ โจหยิน เมื่อตอนถูก ชีซี ตีแตก
  2. ท่านผู้มีสติปัญญานั้น ถึงมาตรว่าจะนั่งนอนหลับตาอยู่ในเรือนมิได้เห็นกิจการทั้งปวงเลย ก็สามารถจะคิดเอาชัยชนะแก่ข้าศึกร้อยพันได้ – เล่าปี ได้กล่าวไว้เมื่อตอนที่เกลี้ยกล่อมให้ กวนอูและเตียวหุยยอมเชื่อฟัง
  3. ธรรมดาผู้มีปัญญาอันพิสดาร แม้จะคิดการสิ่งใดก็ลึกซึ้ง ผู้มีปัญญาน้อยหาหยั่งรู้ถึงตลอดไม่ – ขงเบ้งได้กล่าวตอกหน้าแก่ เตียวเจียวเอาไว้เมื่อครั้งที่ไปกังตั๋งเพื่อเจรจาให้ซุนกวนยอมทำศึกกับโจโฉ
  4. อันธรรมดาเกิดมาเปนมนุษย์นี้ยากที่จะรู้การในอากาศ – ขงเบ้งกล่าวให้จิวยี่ได้ฟัง ในขณะที่ล้มป่วยลงเพราะสภาพอากาศนั้นไม่เป็นใจต่อการทำศึก
  5. ธรรมดาเกิดมาเป็นมนุษย์ อันโรคแลความตายนั้นจะกำหนดวันมิได้ – จิวยี่ ได้กล่าวแก่ ขงเบ้ง เมื่อขงเบ้งมาเยี่ยมตนเองที่กำลังป่วยอยู่
  6. เทพดาองค์ใดหนอ ซึ่งให้เราเกิดมาแล้ว เหตุใดจึงให้ขงเบ้งเกิดมาด้วยเล่า – คำตัดพ้อของ จิวยี่ ที่ได้กล่าวเอาไว้ก่อนที่จะสิ้นลมหายใจ
  7. กินเบี้ยหวัดมาร้อยวันพันวัน จะเอาการแต่วันเดียวก็มิได้ – สุมาอี้ ได้กล่าวให้แก่ทหารที่เสียกำลังใจอยู่ในตอนกำลังเฝ้าด่าน กิก๊ก
  8. ทำการสิ่งใดอย่าได้เบาความ จงตรึกตรองให้ละเอียดแล้วจึงทำ – คำสั่งเสียครั้งสุดท้ายของ สุมาอี้ ที่สอนลูกหลานให้ตั้งตนอยู่ในความละเอียดรอบคอบและไม่ประมาท
  9. วันคืนปีเดือนล่วงไปไม่หยุดเลย จะคอยท่าให้ได้ทีก็จะแก่เสียเปล่า – คำกล่าวของ เกียงอุย ที่พูดขึ้นเพื่อโน้มน้าวให้บรรดาขุนนางเห็นพ้องกับตน ในการยกทัพไปบุก วุยก๊ก
  10. ข้าพเจ้ายอมทรยศโลก ดีกว่าให้โลกทรยศข้าพเจ้า – เป็นวาทะที่แสดงให้เห็นความเด็ดเดี่ยวของ โจโฉ

 

Yokoyama Mitsuteru Sangokushi สามก๊ก pdf

อ่าน สามก๊ก (ฉบับเล่มหนา)

01   02   03   04   05   06   07   08   09   10

11   12   13   14   15_End

 

ขอขอบคุณที่อ่านกันจนจบ หวังว่าการ์ตูนเรื่องนี้จะสร้างความ เพลิดเพลิน บันเทิงใจ ให้กับท่านผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อยนะครับ ขอบคุณครับ

 

Manga , มังงะ , อ่านการ์ตูน , cartoon , toonbook , mangatoonbook